วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ความสำเร็จและความล้มเหลวคือจุดเดียวกัน
ความสำเร็จและความล้มเหลวคือจุดเดียวกัน วันนี้มีคนๆหนึ่งมีเงินหนึ่งพันล้าน เราจะถือว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว คนส่วนใหญ่น่าจะตอบว่าประสบความสำเร็จ แต่ถ้าคนๆนั้นคือมหาเศรษฐีของเมืองไทยหรือของโลก เขาอาจจะตอบว่าล้มเหลวก็ได้ เพราะระดับเขาเคยมี ควรจะมี หรือต้องมีอย่างน้อยเป็นหลักหมื่นล้าน ถ้าวันนี้มีคนๆหนึ่งจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) คนส่วนใหญ่จะคิดว่ายังไม่ประสบความสำเร็จด้านการศึกษา แต่ถ้าคนๆนั้นเป็นคนพิการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการเรียน เขาอาจจะคิดว่านี่คือความสำเร็จสูงสุดในชีวิตของเขาแล้วก็ได้ ถ้าวันนี้คนๆหนึ่งได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเป็นหัวหน้างาน เราจะถือว่าเขาประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานหรือไม่ ถ้าเรารู้ว่าคนๆนี้เขาจบปริญญาโทมาแต่ได้เป็นแค่หัวหน้างาน หรือถ้าเรารู้ว่าคนๆนั้นเขาจบแค่ ป.6 เท่านั้น หรือถ้าเรารู้ว่าคนๆนั้นเป็นลูกเจ้าของบริษัท หรือถ้าเรารู้ว่าคนๆนั้นเป็นคนพิการ หรือถ้าเรารู้ว่าคนๆนั้นทำงานมาเกือบสามสิบปีแล้วก่อนที่จะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ฯลฯ เรายังจะยืนยันว่าเขาประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวหรือไม่ ถ้าเราปีนขึ้นไปอยู่บนยอดเขาสูงประมาณ 1000 ฟุตจากระดับน้ำทะเล จุดนี้อาจจะเป็นความล้มเหลวสำหรับนักปีนเขาสูงระดับโลก แต่จุดเดียวกันนี้อาจจะเป็นความสำเร็จของเด็ก คนแก่ หรือคนพิการก็ได้ จากตัวอย่างเหล่านี้ คงจะพออธิบายได้ว่าความสำเร็จของคนๆหนึ่งอาจจะเป็นจุดล้มเหลวของคนอื่นได้ ในทางกลับกัน จุดที่บางคนเรียกว่าความสำเร็จนั้นอาจจะเป็นจุดเดียวกันกับจุดที่คนอื่นเรียกกว่าล้มเหลวก็ได้ ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่าคำว่า “สำเร็จ” หรือ “ล้มเหลว” นั้นเป็นเพียงความหมายที่คนส่วนใหญ่ในสังคมสมมติกันขึ้นมา เช่น ถ้าใครจบการศึกษาสูงกว่าคนทั่วไปในสังคม สังคมก็มักจะบอกว่าเป็นความสำเร็จ ถ้าใครมีทรัพย์สินเงินทองสูงกว่าคนทั่วไปในสังคม สังคมก็จะบอกว่าเป็นความสำเร็จ ในทางกลับกัน ถ้าใครตั้งเป้าหมายว่าจะทำอะไร เท่าไหร่ เมื่อไหร่ ถ้าทำไม่ได้ เขาก็จะคิดว่าล้มเหลว ดังนั้น คำว่าสำเร็จหรือล้มเหลวจึงไม่ใช่ความจริงที่แท้จริง เป็นเพียงความจริงแบบสมมติ (ตามมุมมองของสังคม ตามมุมมองของแต่ละบุคคล) ถ้าเป็นความจริงที่แท้จริงทุกคนต้องตอบเหมือนกัน เช่น การสัมผัสกับไฟทุกคนจะตอบว่าร้อน ไม่มีใครตอบว่าเย็น เพราะมันคือความจริงที่แท้จริง เนื่องจากคำว่า “สำเร็จ” กับ “ล้มเหลว” เป็นคำที่อยู่ตรงกันข้ามแบบซ้ายสุดกับขวาสุด เป็นตัวชี้วัดประเภท “ได้กับตก” หรือ “YES กับ NO” หรือประเภท “ON กับ OFF” ไม่มีระดับย่อยของสองคำนี้ เช่น คนเราไม่ค่อยใช้คำว่า “สำเร็จมาก” “สำเร็จปานกลาง” “สำเร็จน้อย” “สำเร็จบางส่วน” “เกือบล้มเหลว” “เกือบสำเร็จ” “ล้มเหลวเล็กน้อย” “ล้มเหลวปานกลาง” ไปจนถึงไม่สำเร็จเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ คำสองคำนี้จึงมีอิทธิพลต่อชีวิตคนค่อนข้างมาก เพราะคนมักจะถูกตัดสินจากสังคมและตัวเองในเรื่องต่างๆว่า “สำเร็จ” หรือ “ล้มเหลว” เท่านั้น คนส่วนใหญ่มักจะยึดติดกับคำว่า “สำเร็จ” หรือ “ล้มเหลว” มากกว่าการกระทำ บางครั้งสิ่งที่เราทำนั้นเกือบจะได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เราก็ไม่เคยพูดว่า “เกือบสำเร็จ” เรามักจะบอกตัวเองว่า “ล้มเหลว” นอกจากนี้ คนเรามักตัดสินเรื่องต่างๆว่าสำเร็จหรือล้มเหลวโดยการเทียบกับมาตรฐานที่สังคมกำหนด เช่น คนที่ประสบความสำเร็จด้านการศึกษาต้องจบระดับใด ได้เกรดเฉลี่ยเท่าไหร่ ฯลฯ หรือไม่ก็เทียบกับเป้าหมายที่ตัวเองกำหนดขึ้นมา เช่น ต้องเก็บเงินให้ได้หนึ่งล้านบาทภายในหนึ่งปี ต้องเป็นผู้จัดการให้ได้ภายในสามปีหลังจากจบการศึกษา ฯลฯ ทำให้คนให้ความสำคัญกับผลต่างระหว่างสิ่งที่ทำได้กับมาตรฐานของสังคมหรือเป้าหมายของตัวเองมากเกินไป จนหลงลืมไปว่าสาระสำคัญของชีวิตอยู่ที่การกระทำตามที่ตั้งใจไว้มากกว่าผลที่เกิดขึ้น เพราะบางครั้งเราได้ทำบางสิ่งบางอย่างอย่างเต็มที่แล้ว แต่ผลที่ได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เราน่าจะภูมิใจกับสิ่งนี้ ไม่ใช่มัวแต่ไปเสียใจกับผลที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ เช่น เราไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งทั้งๆที่เราได้ทำงานอย่างเต็มที่แล้ว ผลการเรียนออกมาต่ำกว่าที่เรากำหนดไว้ทั้งๆที่เราตั้งใจเรียนเต็มที่แล้ว ฯลฯ ดังนั้น ถ้าเรามัวแต่ไปยึดติดกับผลการตัดสินสุดท้ายมากเกินไป อาจจะทำให้เราต้องดิ้นรนเพื่อค้นหาคำว่า “สำเร็จ” และหลีกหนีคำว่า “ล้มเหลว” อยู่ตลอดเวลา จนบางครั้งทำให้เราหลงเดินทางไปในทางที่ผิด เพียงเพราะอยากจะประสบความสำเร็จ เช่น ต้องประจบเจ้านายเพื่อให้เราประสบความสำเร็จในหน้าที่การเงิน เราต้องลอกข้อสอบเพื่อให้ได้เกรดดี เราต้องโกงคนอื่นเพื่อให้มีเงินตามที่เราต้องการ ฯลฯ เพื่อป้องกันไม่ให้เราหลงใหลและติดใจไปกับคำว่า “สำเร็จ” หรือกลัวและไม่อยากเจอกับคำว่า “ล้มเหลว” มากเกินไป จึงขอแนะนำแนวทางในการปรับเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ดังนี้
สรุป คำว่า “ความสำเร็จ” และ “ความล้มเหลว” จึงไม่ใช่สิ่งที่แตกต่างกัน ไม่ใช่คนเรื่องกัน แต่เป็นเรื่องเดียวกัน เป็นจุดเดียวกัน เพียงแต่คนในแต่ละสังคม หรือแต่ละบุคคลนำไปใช้ตีความให้เกิดความแตกต่างกันขึ้นมาเท่านั้น ดังนั้น ถ้าเราอยากจะได้คำว่า “สำเร็จ” มากๆเราก็สามารถทำได้โดยการเปลี่ยนความหมายที่ใจของเรา ถ้าเราต้องการเตือนตัวเองไม่ให้ประมาท เราก็สามารถกำหนดความหมายของคำว่า “ล้มเหลว” ขึ้นมาได้ตลอดเวลาเช่นกัน เพราะคำทั้งสองคำนี้ไม่ใช่ความหมายที่แท้จริง แต่เป็นความหมายตามการสมมติของแต่ละคนแต่ละสังคมเท่านั้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าต่อไปนี้ ทุกท่านคงจะสามารถกำหนด “ความสำเร็จ” และ “ล้มเหลว” ได้ด้วยตัวเองได้ตลอดเวลาที่ต้องการนะครับ |
ดีเหมือนกันที่มีลูกน้องที่แก่กว่าและมีปัญหา คนที่เป็นหัวหน้าหลายคนมักจะบ่นให้ฟังว่าเบื่อลูกน้องที่มีปัญหา ไม่รู้จะแก้อย่างไร โดยเฉพาะหัวหน้าที่เป็นคนรุ่นใหม่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าและมีลูกน้องที่อายุเยอะกว่า(แก่กว่า) และมีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า ลูกน้องบางคนก็ออกอาการไม่ยอมรับหัวหน้าที่เด็กกว่า บางคนก็ดื้อตาใส(ดูเหมือนยอมโดยอำนาจหน้าที่แต่ลึกๆไม่ยอมรับ) บางคนก็ตีรวนให้หัวหน้าละอ่อนรับไม่ได้ และระเบิดอารมณ์ ออกมาเพื่อเปิดจุดอ่อน หรือไม่ก็หวังจะให้หัวหน้ากระเด็นจากเก้าอี้ ในขณะที่บางคนต้องการให้หัวหน้าเกรงใจและให้ความสำคัญกับตัวเองมากกว่าลูกน้องคนอื่นๆ ใครก็ตามที่เจอปัญหาแบบนี้ ขอแนะนำว่าอย่าเพิ่งท้อ เพราะชีวิตการทำงานของเรายังมีอีกยาวไกล ลองปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้
สรุป ใครก็ตามที่มีลูกน้องที่แก่กว่าและมีปัญหา กรุณานำแนวทางดังกล่าวไปปรับใช้ดู ผมเชื่อว่าแค่เปลี่ยนทัศนคติจากลบเป็นบวกก็น่าจะช่วยให้มองเห็นโอกาสและแนวทางในการแก้ไขปัญหาลูกน้องประเภทนี้ได้แล้ว |
คิดใหญ่ แต่ไม่ควรเริ่มต้นใหญ่
คิดใหญ่ แต่ไม่ควรเริ่มต้นใหญ่
ในสมัยเด็กๆผมได้สังเกตเห็นความแตกต่างของวิธีคิดและวิธีการดำเนินชีวิตของคนสองกลุ่มคือ กลุ่มคนไทย เชื้อสายจีนที่มักจะอาศัยอยู่ในตลาด อาชีพที่ทำส่วนใหญ่คือเปิดร้านขายของ และกลุ่มคนไทยที่มี อาชีพทำการ เกษตรมีที่ดินซึ่งได้มาจากมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษ ตอนแรกคนไทยเชื้อสายจีนมักจะเริ่มต้นจากร้านขาย ของชำเล็กๆหรือไม่ก็ปลูกผักขาย ที่อยู่ก็อาจจะเป็นแค่เพิงพอที่จะหลบแดดหลบฝนได้เท่านั้น คนกลุ่มนี้พยายาม เก็บหอมรอบริบจนค่อยๆเติบโตขึ้นมาทีละเล็กทีละน้อยแต่เติบโตอย่างอย่างมั่นคง จากกระต๊อบ กลายเป็นห้อง แถวจากห้องแถวกลายเป็นตึกสองชั้นสามชั้น จนกลายเป็นกิจการใหญ่โต
ในขณะที่คนไทยกลุ่มที่สองที่เคยทำสวนทำไร่จากฐานะคหบดีใหญ่ในหมู่บ้าน เมื่อที่ดินถูกแบ่งให้ลูกให้หลาน ทอดแล้วทอดเล่า มรดกทางทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นที่ดิน เรือกสวนไร่นา บ้านหลังใหญ่ๆ ก็จะเหลือน้อยลงๆ ทุกรุ่นสุดท้ายหลายคนก็ต้องขายที่ขายทางไป บางคนก็คิดการใหญ่อยากจะร่ำรวยเหมือนคนไทยเชื้อ สายจีน บ้างอยากจะผันตัวเองจากเกษตรกรมาเป็นพ่อค้า แต่คนกลุ่มที่สองนี้มักจะเริ่มต้นทำอะไรเกินตัว เพราะค่านิยม ของคนไทยโดยเฉพาะคนในชนบทมักจะคำนึงถึงหน้าตามากกว่าเรื่องอื่น เช่น ถ้าจะทำกิจการต้องเปิดตัวให้ ใหญ่โตบางคนเริ่มเปิดกิจการใหญ่โตมีตึก 5 ชั้น แต่ด้วยความที่ไม่ได้เกิดจากจากสายเลือดของคนทำมาค้าขาย ที่แท้จริงทำให้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดประสบการณ์ในการค้าขาย สุดท้ายตึกที่เคยเริ่มต้นทำพิธีเปิดซึ่งมี 5 ชั้นๆ ค่อยๆลดลงมาทีละชั้น สุดท้ายเหลือเพียงขายก๋วยเตี๋ยวแบบรถเข็นหรือไม่ก็กลับเข้าไปรับจ้างทำสวนเหมือน รุ่นปู่ย่าตายาย
ถึงแม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป แต่ผมก็ยังเชื่อว่าเรื่องแบบนี้ยังมีให้เห็นอยู่มากในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมของปัญญาชนคนทำงานแบบเราๆ พูดง่ายๆคือคนที่ทำงานเป็นลูกจ้างกินเงินเดือนนี่แหละ ผมก็ยังมีความ เชื่อต่อไปอีกว่าลูกจ้างทุกคนมีฝันที่อยากจะเติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และบางคนยังฝันถึงการเป็นเจ้า ของกิจการแต่... จะมีสักกี่คนที่สามารถสร้างฝันให้เป็นจริงได้ เจ้าของกิจการหลายคน เริ่มต้นชีวิตจากการ เป็นลูกจ้างระดับล่างสุด แต่ด้วยความมานะพยายามสุดท้ายก็กลายเป็นเจ้าของกิจการที่ประสบความสำเร็จได้ ในขณะที่ลูกจ้างอีกหลายคนที่คิดใหญ่ฝันใหญ่ แต่ไปไม่ถึงดวงดาว เหตุผลสำคัญคือ "ใจร้อน" ไม่อยากเห็น ตัวเองเป็นเจ้าของกิจการตอนอายุหกสิบ โดยเฉพาะลูกจ้างรุ่นใหม่ เช่น พอคิดอยากจะเป็นเจ้าของกิจการ แทนที่จะหาประสบการณ์จากการทำงานให้มากพอ ก็คิดที่จะเติบโตทางลัด โดยการร่วมลงทุนกับเพื่อนๆ หรือการนำเงินก้อนหนึ่งที่ได้จากการออกจากงานไปลงทุนทำกิจการ คนที่โชคดีก็พอมีบ้าง แต่ส่วนใหญ่ไป ไม่รอดเพราะขาดประสบการณ์ เพราะคิดใหญ่และทำใหญ่เท่ากับที่คิด เผลอๆทำใหญ่กว่าที่คิดเสียอีก เหมือน กับคนมีเงินอยู่สองแสนบาทคิดจะตกแต่งบ้านใหม่ให้อยู่ในงบสองแสน เชื่อหรือไม่ครับว่าพอลงมือทำจริงๆ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมักจะเกินงบหรือที่มักจะเรียกกันว่างบบานปลายนั่นเอง เช่นเดียวกันกับการทำสิ่งต่างๆ ถ้าเราคิดใหญ่ระดับไหน สิ่งที่ลงมือทำจริงมันจะยิ่งมีภาระใหญ่กว่าที่เราคิด เพราะบางเรื่องเรายังคิดไม่ถึง จะเจอก็ต่อเมื่อลงมือทำ
ผมอยากจะเปรียบเทียบให้เห็นว่าการที่เราเร่งรีบทำอะไรเร็วกว่าเวลาที่ควรจะเป็นเหมือนกับการที่เราเพาะ ชำต้นกล้าเราเรารีบนำหน่อหรือกล้าไม้เหล่านี้ออกไปปลูกในแปลงปลูกจริงก่อนเวลาที่เหมาะสมแล้ว โอกาส ที่จะรอดจากแสงแดด ศัตรูพืชคงจะยากมากนะครับ ดังนั้น ถ้าใครคิดจะทำอะไร แน่นอนว่าการคิดใหญ่เป็น สิ่งที่ดีแต่การเริ่มต้นหรือลงมือทำใหญ่เลยนั้น ย่อมมีความเสี่ยงสูงมากเช่นกัน
สำหรับข้อคิดเกี่ยวกับการคิดใหญ่ แต่ไม่ควรเริ่มต้นใหญ่ ผมใคร่ขอแนะนำเป็นข้อๆดังนี้
คิดให้ใหญ่ คิดให้กว้าง คิดให้ลึก
ถ้าเราต้องการจะทำอะไร ขอให้คิดถึงภาพใหญ่ไว้ก่อนเสมอ เพราะการที่เราสามารถมองภาพใหญ่ ได้จะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่เราอยากจะทำได้ดีกว่า เช่น ถ้าเราต้องการจะเปิดกิจการร้านขายกาแฟ เล็กๆสักหนึ่งร้านในหมู่บ้าน เราไม่ควรมองภาพแค่ร้านขายกาแฟที่มีอยู่ในหมู่บ้านที่เราอยู่เท่านั้น แต่จะต้องมองไกลออกไปข้างนอก มองกว้างไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับร้านขายกาแฟ มองลึกลงไป ถึงเทคนิคกลยุทธ์ในธุรกิจกาแฟให้ได้ก่อน ก่อนที่จะคิดลงมือทำ ถ้าเราเป็นลูกจ้าง แล้วเราฝันอยาก จะเป็นผู้บริหารระดับสูง เราก็ไม่ควรมองแค่เพียงตำแหน่งบริหารในองค์กรของเรา แต่จะต้องมอง ออกไปยังองค์กรอื่น มองไปยังสายงานอื่น มองลึกลงไปถึงแนวทางในการไต่เต้า ไปสู่ตำแหน่ง ระดับสูงเหล่านั้นก่อนเสมอ
คิดจากเล็กไปหาใหญ่ และคิดจากใหญ่กลับมาหาเล็ก
เทคนิคการคิดใหญ่นั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรจะคิดสวนกลับ ใครเริ่มคิดที่ภาพใหญ่ก็ควรจะคิดสวน ทางกลับมาหาภาพเล็กอีกครั้งหนึ่ง ใครเริ่มคิดจากภาพเล็กก่อน ก็ควรจะขยายความคิดออกไปสู่ ภาพใหญ่ด้วยเพราะการคิดแบบนี้จะช่วยกรองความคิดของเราให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงใน สิ่งที่เราต้องการจะทำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังจะช่วยให้เราเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของความฝัน (ภาพใหญ่)กับความจริง(สิ่งเล็กๆที่เราจะเริ่มทำ)ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ถ้าจะให้ดีไปกว่านี้ ก็ควรจะ คิดย้อนไปย้อนมาระหว่างภาพใหญ่กับภาพเล็กหลายๆรอบ เพื่อให้เกิดการตกผลึกทางความคิดมากยิ่งขึ้น
ทำพิมพ์เขียวทางความคิดจากเล็กไปสู่ใหญ่
เมื่อได้ผลึกทางความคิดมาเรียบร้อยแล้ว ก็ให้วางแผนจัดทำพิมพ์เขียวของการนำความคิดไปปฏิบัติ โดยมีการกำหนดลำดับขั้นตอนของกิจกรรมแต่ละอย่างไว้อย่างเป็นระบบ อะไรควรจะทำก่อน-หลัง เหมือนกับเราทำพิมพ์เขียวเพื่อสร้างบ้านสักหลังหนึ่งที่จะต้องให้โครงสร้างทั้งหมด และรู้เลยว่าจะต้อง เริ่มต้นทำจากตรงไหนก่อน และเฟสแรกที่จะทำทำแค่ไหน ถ้าจะต่อเฟสสองจะสามารถต่อกันได้อย่างไร
คิดใหญ่ แต่เริ่มต้นทำจากจุดเล็กๆก่อน
ถ้าพิมพ์เขียวที่ทำไว้ดี การลงมือทำก็ง่ายขึ้น ในขณะที่ลงมือทำกิจกรรมแต่ละชิ้นแต่ละอย่างขอให้จดจ่อกับ กิจกรรมนั้นๆ อย่ามัวแต่ไปกังวลกับภาพใหญ่เสียก่อน เหมือนกับการที่เราเริ่มลงมือก่ออิฐที่ละก้อน ขอให้จดจ่อกับการก่ออิฐก้อนนั้นๆ อย่าเพิ่งไปคิดว่าเราก่ออิฐก้อนนี้แล้ว บ้านเราจะออกมาสวยหรือไม่
สรุป การคิดใหญ่ ไม่คิดเล็กนั้นถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเราขาดด้อยประสบการณ์ เราไม่ต้องการความเสี่ยงในชีวิตมาก ก็น่าจะเริ่มลงมือทำจากสิ่งเล็กๆก่อน ด้วยเหตุผลสองประการคือ ถ้าสิ่งเล็กๆที่ลงมือทำประสบความสำเร็จก็จะช่วย เป็นเชื้อเพลิงกำลังใจให้ชีวิตเรา ยิ่งงานชิ้นเล็กๆประสบความสำเร็จมากเท่าไหร่ เชื้อเพลิงกำลังใจก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ในทางกลับกันถ้างานชิ้นเล็กๆประสบความล้มเหลวก็ไม่เกิดผลกระทบต่อความฝันของเรามากนัก ยังพอมีเวลาแก้ตัว ยังไม่ท้อเท่าไหร่ ไม่เหมือนกับการคิดใหญ่ ทำใหญ่และล้มเหลวครั้งใหญ่ ดังนั้น การคิดใหญ่แต่เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ก่อนก็น่าจะเป็นแนวทางให้ท่านผู้อ่านสร้างเส้นทางสู่ความสำเร็จได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนนะครับ
ตีพิมพ์ลงคอลัมน์ "โลกนักบริหาร" หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ฉบับวันพุธที่ 26 มกราคม 2548
http://www.peoplevalue.co.th/
ในสมัยเด็กๆผมได้สังเกตเห็นความแตกต่างของวิธีคิดและวิธีการดำเนินชีวิตของคนสองกลุ่มคือ กลุ่มคนไทย เชื้อสายจีนที่มักจะอาศัยอยู่ในตลาด อาชีพที่ทำส่วนใหญ่คือเปิดร้านขายของ และกลุ่มคนไทยที่มี อาชีพทำการ เกษตรมีที่ดินซึ่งได้มาจากมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษ ตอนแรกคนไทยเชื้อสายจีนมักจะเริ่มต้นจากร้านขาย ของชำเล็กๆหรือไม่ก็ปลูกผักขาย ที่อยู่ก็อาจจะเป็นแค่เพิงพอที่จะหลบแดดหลบฝนได้เท่านั้น คนกลุ่มนี้พยายาม เก็บหอมรอบริบจนค่อยๆเติบโตขึ้นมาทีละเล็กทีละน้อยแต่เติบโตอย่างอย่างมั่นคง จากกระต๊อบ กลายเป็นห้อง แถวจากห้องแถวกลายเป็นตึกสองชั้นสามชั้น จนกลายเป็นกิจการใหญ่โต
ในขณะที่คนไทยกลุ่มที่สองที่เคยทำสวนทำไร่จากฐานะคหบดีใหญ่ในหมู่บ้าน เมื่อที่ดินถูกแบ่งให้ลูกให้หลาน ทอดแล้วทอดเล่า มรดกทางทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นที่ดิน เรือกสวนไร่นา บ้านหลังใหญ่ๆ ก็จะเหลือน้อยลงๆ ทุกรุ่นสุดท้ายหลายคนก็ต้องขายที่ขายทางไป บางคนก็คิดการใหญ่อยากจะร่ำรวยเหมือนคนไทยเชื้อ สายจีน บ้างอยากจะผันตัวเองจากเกษตรกรมาเป็นพ่อค้า แต่คนกลุ่มที่สองนี้มักจะเริ่มต้นทำอะไรเกินตัว เพราะค่านิยม ของคนไทยโดยเฉพาะคนในชนบทมักจะคำนึงถึงหน้าตามากกว่าเรื่องอื่น เช่น ถ้าจะทำกิจการต้องเปิดตัวให้ ใหญ่โตบางคนเริ่มเปิดกิจการใหญ่โตมีตึก 5 ชั้น แต่ด้วยความที่ไม่ได้เกิดจากจากสายเลือดของคนทำมาค้าขาย ที่แท้จริงทำให้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดประสบการณ์ในการค้าขาย สุดท้ายตึกที่เคยเริ่มต้นทำพิธีเปิดซึ่งมี 5 ชั้นๆ ค่อยๆลดลงมาทีละชั้น สุดท้ายเหลือเพียงขายก๋วยเตี๋ยวแบบรถเข็นหรือไม่ก็กลับเข้าไปรับจ้างทำสวนเหมือน รุ่นปู่ย่าตายาย
ถึงแม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป แต่ผมก็ยังเชื่อว่าเรื่องแบบนี้ยังมีให้เห็นอยู่มากในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมของปัญญาชนคนทำงานแบบเราๆ พูดง่ายๆคือคนที่ทำงานเป็นลูกจ้างกินเงินเดือนนี่แหละ ผมก็ยังมีความ เชื่อต่อไปอีกว่าลูกจ้างทุกคนมีฝันที่อยากจะเติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และบางคนยังฝันถึงการเป็นเจ้า ของกิจการแต่... จะมีสักกี่คนที่สามารถสร้างฝันให้เป็นจริงได้ เจ้าของกิจการหลายคน เริ่มต้นชีวิตจากการ เป็นลูกจ้างระดับล่างสุด แต่ด้วยความมานะพยายามสุดท้ายก็กลายเป็นเจ้าของกิจการที่ประสบความสำเร็จได้ ในขณะที่ลูกจ้างอีกหลายคนที่คิดใหญ่ฝันใหญ่ แต่ไปไม่ถึงดวงดาว เหตุผลสำคัญคือ "ใจร้อน" ไม่อยากเห็น ตัวเองเป็นเจ้าของกิจการตอนอายุหกสิบ โดยเฉพาะลูกจ้างรุ่นใหม่ เช่น พอคิดอยากจะเป็นเจ้าของกิจการ แทนที่จะหาประสบการณ์จากการทำงานให้มากพอ ก็คิดที่จะเติบโตทางลัด โดยการร่วมลงทุนกับเพื่อนๆ หรือการนำเงินก้อนหนึ่งที่ได้จากการออกจากงานไปลงทุนทำกิจการ คนที่โชคดีก็พอมีบ้าง แต่ส่วนใหญ่ไป ไม่รอดเพราะขาดประสบการณ์ เพราะคิดใหญ่และทำใหญ่เท่ากับที่คิด เผลอๆทำใหญ่กว่าที่คิดเสียอีก เหมือน กับคนมีเงินอยู่สองแสนบาทคิดจะตกแต่งบ้านใหม่ให้อยู่ในงบสองแสน เชื่อหรือไม่ครับว่าพอลงมือทำจริงๆ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมักจะเกินงบหรือที่มักจะเรียกกันว่างบบานปลายนั่นเอง เช่นเดียวกันกับการทำสิ่งต่างๆ ถ้าเราคิดใหญ่ระดับไหน สิ่งที่ลงมือทำจริงมันจะยิ่งมีภาระใหญ่กว่าที่เราคิด เพราะบางเรื่องเรายังคิดไม่ถึง จะเจอก็ต่อเมื่อลงมือทำ
ผมอยากจะเปรียบเทียบให้เห็นว่าการที่เราเร่งรีบทำอะไรเร็วกว่าเวลาที่ควรจะเป็นเหมือนกับการที่เราเพาะ ชำต้นกล้าเราเรารีบนำหน่อหรือกล้าไม้เหล่านี้ออกไปปลูกในแปลงปลูกจริงก่อนเวลาที่เหมาะสมแล้ว โอกาส ที่จะรอดจากแสงแดด ศัตรูพืชคงจะยากมากนะครับ ดังนั้น ถ้าใครคิดจะทำอะไร แน่นอนว่าการคิดใหญ่เป็น สิ่งที่ดีแต่การเริ่มต้นหรือลงมือทำใหญ่เลยนั้น ย่อมมีความเสี่ยงสูงมากเช่นกัน
สำหรับข้อคิดเกี่ยวกับการคิดใหญ่ แต่ไม่ควรเริ่มต้นใหญ่ ผมใคร่ขอแนะนำเป็นข้อๆดังนี้
คิดให้ใหญ่ คิดให้กว้าง คิดให้ลึก
ถ้าเราต้องการจะทำอะไร ขอให้คิดถึงภาพใหญ่ไว้ก่อนเสมอ เพราะการที่เราสามารถมองภาพใหญ่ ได้จะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่เราอยากจะทำได้ดีกว่า เช่น ถ้าเราต้องการจะเปิดกิจการร้านขายกาแฟ เล็กๆสักหนึ่งร้านในหมู่บ้าน เราไม่ควรมองภาพแค่ร้านขายกาแฟที่มีอยู่ในหมู่บ้านที่เราอยู่เท่านั้น แต่จะต้องมองไกลออกไปข้างนอก มองกว้างไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับร้านขายกาแฟ มองลึกลงไป ถึงเทคนิคกลยุทธ์ในธุรกิจกาแฟให้ได้ก่อน ก่อนที่จะคิดลงมือทำ ถ้าเราเป็นลูกจ้าง แล้วเราฝันอยาก จะเป็นผู้บริหารระดับสูง เราก็ไม่ควรมองแค่เพียงตำแหน่งบริหารในองค์กรของเรา แต่จะต้องมอง ออกไปยังองค์กรอื่น มองไปยังสายงานอื่น มองลึกลงไปถึงแนวทางในการไต่เต้า ไปสู่ตำแหน่ง ระดับสูงเหล่านั้นก่อนเสมอ
คิดจากเล็กไปหาใหญ่ และคิดจากใหญ่กลับมาหาเล็ก
เทคนิคการคิดใหญ่นั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรจะคิดสวนกลับ ใครเริ่มคิดที่ภาพใหญ่ก็ควรจะคิดสวน ทางกลับมาหาภาพเล็กอีกครั้งหนึ่ง ใครเริ่มคิดจากภาพเล็กก่อน ก็ควรจะขยายความคิดออกไปสู่ ภาพใหญ่ด้วยเพราะการคิดแบบนี้จะช่วยกรองความคิดของเราให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงใน สิ่งที่เราต้องการจะทำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังจะช่วยให้เราเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของความฝัน (ภาพใหญ่)กับความจริง(สิ่งเล็กๆที่เราจะเริ่มทำ)ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ถ้าจะให้ดีไปกว่านี้ ก็ควรจะ คิดย้อนไปย้อนมาระหว่างภาพใหญ่กับภาพเล็กหลายๆรอบ เพื่อให้เกิดการตกผลึกทางความคิดมากยิ่งขึ้น
ทำพิมพ์เขียวทางความคิดจากเล็กไปสู่ใหญ่
เมื่อได้ผลึกทางความคิดมาเรียบร้อยแล้ว ก็ให้วางแผนจัดทำพิมพ์เขียวของการนำความคิดไปปฏิบัติ โดยมีการกำหนดลำดับขั้นตอนของกิจกรรมแต่ละอย่างไว้อย่างเป็นระบบ อะไรควรจะทำก่อน-หลัง เหมือนกับเราทำพิมพ์เขียวเพื่อสร้างบ้านสักหลังหนึ่งที่จะต้องให้โครงสร้างทั้งหมด และรู้เลยว่าจะต้อง เริ่มต้นทำจากตรงไหนก่อน และเฟสแรกที่จะทำทำแค่ไหน ถ้าจะต่อเฟสสองจะสามารถต่อกันได้อย่างไร
คิดใหญ่ แต่เริ่มต้นทำจากจุดเล็กๆก่อน
ถ้าพิมพ์เขียวที่ทำไว้ดี การลงมือทำก็ง่ายขึ้น ในขณะที่ลงมือทำกิจกรรมแต่ละชิ้นแต่ละอย่างขอให้จดจ่อกับ กิจกรรมนั้นๆ อย่ามัวแต่ไปกังวลกับภาพใหญ่เสียก่อน เหมือนกับการที่เราเริ่มลงมือก่ออิฐที่ละก้อน ขอให้จดจ่อกับการก่ออิฐก้อนนั้นๆ อย่าเพิ่งไปคิดว่าเราก่ออิฐก้อนนี้แล้ว บ้านเราจะออกมาสวยหรือไม่
สรุป การคิดใหญ่ ไม่คิดเล็กนั้นถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเราขาดด้อยประสบการณ์ เราไม่ต้องการความเสี่ยงในชีวิตมาก ก็น่าจะเริ่มลงมือทำจากสิ่งเล็กๆก่อน ด้วยเหตุผลสองประการคือ ถ้าสิ่งเล็กๆที่ลงมือทำประสบความสำเร็จก็จะช่วย เป็นเชื้อเพลิงกำลังใจให้ชีวิตเรา ยิ่งงานชิ้นเล็กๆประสบความสำเร็จมากเท่าไหร่ เชื้อเพลิงกำลังใจก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ในทางกลับกันถ้างานชิ้นเล็กๆประสบความล้มเหลวก็ไม่เกิดผลกระทบต่อความฝันของเรามากนัก ยังพอมีเวลาแก้ตัว ยังไม่ท้อเท่าไหร่ ไม่เหมือนกับการคิดใหญ่ ทำใหญ่และล้มเหลวครั้งใหญ่ ดังนั้น การคิดใหญ่แต่เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ก่อนก็น่าจะเป็นแนวทางให้ท่านผู้อ่านสร้างเส้นทางสู่ความสำเร็จได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนนะครับ
ตีพิมพ์ลงคอลัมน์ "โลกนักบริหาร" หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ฉบับวันพุธที่ 26 มกราคม 2548
http://www.peoplevalue.co.th/
วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ก้าวที่ 3 สู่ความสำเร็จในโลกเครือข่าย..ความเชื่อมั่น
Attraction Marketing ตอนที่ 11
ก้าวที่ 3 สู่ความสำเร็จในโลกเครือข่าย..ความเชื่อมั่น
ผมเริ่มต้นทำธุรกิจด้วยความหวังว่า ฉันจะต้องรวยอย่างที่คนอื่นๆ เขาทำได้ ผมมีระบบที่ดีทำงานให้ บริษัทที่เข้าร่วมก็สุดยอด ผมมีอัพไลน์ที่เก่งสอนงานอยู่เสมอ คิดไว้เสมอว่าอัพไลน์ทำได้ ฉันก็ต้องทำได้ เวลาผ่านไป เดือนแรกผมสปอนเซอร์คนไม่ได้เลย ทุกๆ วันเต็มไปด้วยความหวังว่าพรุ่งจะต้องสปอนเซอร์คนได้ พอเริ่มสปอนเซอร์คนได้บ้าง แต่ในที่สุดก็ยังล้มเหลวเหมือนเดิม เพราะรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ....จนวันหนึ่งผมได้เรียนรู้ว่า
ธุรกิจที่ดีที่สุด หรือแผนการตลาดที่ดีที่สุดนั้นไม่ช่วยอะไรเราเลย ถ้าเราไม่รู้ว่า สิ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จในโลกธุรกิจเครือข่าย คือการสร้างความสัมพันธ์ และความเชื่อมั่นระหว่างบุคคล
ความสัมพันธ์จะเกิด ก็เมื่่อความเชื่อมั่นระหว่างคนสองคนถูกเติมเต็ม ด้วยเหตุนี้เองทำให้นักธุรกิจเครือข่าย 99 % ถูกสอนให้ชวนญาติ พี่น้อง และเพื่อนฝูง ที่รู้จักเป็นเป้าหมายแรกในชักชวนให้เข้าทำธุรกิจ เพราะง่ายที่จะสร้างความสัมพันธ์ด้วย เพราะรู้ว่าการชวนคนที่ไม่รู้จัก ให้มาร่วมทำธุรกิจด้วยนั้นมันยากลำบากมากแค่ไหน
ความเชื่อมั่นระหว่างบุคคลที่ไม่รู้จักกันเลยจะเริ่มสร้างจากที่ไหน?
คุณคิดว่าทำไม? ประชาชนคนไทย หรือ ชาวต่างชาติที่ไม่ใช่คนไทย ถึงรักเคารพเทิดทูนพราะเจ้าอยู่หัว เพราะ เราถูกสอนมาให้เคารพพระมหากษัตริย์ หรือ ท่านเป็นพ่อผู้ทรงธรรม ที่เสียสละทุกอย่างเพื่อทำให้ประชาชนที่เปรียบประดุจลูกของท่าน อยู่ดีกินดีมีความสุข
ทำไม? คนมากมายจีงอยากเป็นลูกศิษย์ ของพระเกจิอาจารย์ หรือพระสงค์ที่ปฎิบัติดี, ปฎิบัติชอบ ด้วยทั้งๆ ที่ไม่รู้จักกัน เพราะว่าท่านสอนให้คนเป็นคนดี ท่านเป็นแนวทางที่ดีให้ปฏิบัติตาม หรือเพราะท่านบังคับให้เป็น
ทำไม? พุทธศาสนิกชน หรือคนที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชน ถึงเคารพ และปฎิบัติตาม คำสอนขององค์พระสัมสัมพุทธเจ้าทั้งๆ ที่ไม่มีโอกาสได้พบกับพระองค์
ทำไม ? เด็กนักเรียนจึงต้องไปเรียนพิเศษกับ อาจารย์ หรือติวเตอร์ที่เก่งๆ
ความลับก็คือ การเป็นผู้ให้ก่อน.... ให้ในสิ่งที่มีประโยชน์แก่ผู้รับ ให้ในสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ที่ต้องการ ยิ่งให้มากก็จะได้รับมากเช่นกัน
แล้วในการทำธุรกิจเครือข่ายเราจะให้อะไรใครได้บาง....เมื่อจุดประสงค์ของเราคือการขาย ต้องสปอนเซอร์คนให้ได้ ถูกสั้งสอนมาว่า ต้องปิดการขายให้ได้ ปิดไม่ได้ไม่ต้องสนใจ ไปหาคนใหม่ ให้เราทำการตลาดด้วย เมื่อสปอนเซอร์คนได้ คนเหล่านั้นก็จะถูกสอนให้ทำซ้ำ้ ๆ ในสิ่งที่กล่าวมาแล้ว... การให้ก่อนจึงเป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้นในการตลาดแบบเก่าๆ
ก้าวที่ 3 สู่ความสำเร็จในโลกเครือข่าย..ความเชื่อมั่น
ผมเริ่มต้นทำธุรกิจด้วยความหวังว่า ฉันจะต้องรวยอย่างที่คนอื่นๆ เขาทำได้ ผมมีระบบที่ดีทำงานให้ บริษัทที่เข้าร่วมก็สุดยอด ผมมีอัพไลน์ที่เก่งสอนงานอยู่เสมอ คิดไว้เสมอว่าอัพไลน์ทำได้ ฉันก็ต้องทำได้ เวลาผ่านไป เดือนแรกผมสปอนเซอร์คนไม่ได้เลย ทุกๆ วันเต็มไปด้วยความหวังว่าพรุ่งจะต้องสปอนเซอร์คนได้ พอเริ่มสปอนเซอร์คนได้บ้าง แต่ในที่สุดก็ยังล้มเหลวเหมือนเดิม เพราะรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ....จนวันหนึ่งผมได้เรียนรู้ว่า
ธุรกิจที่ดีที่สุด หรือแผนการตลาดที่ดีที่สุดนั้นไม่ช่วยอะไรเราเลย ถ้าเราไม่รู้ว่า สิ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จในโลกธุรกิจเครือข่าย คือการสร้างความสัมพันธ์ และความเชื่อมั่นระหว่างบุคคล
ความสัมพันธ์จะเกิด ก็เมื่่อความเชื่อมั่นระหว่างคนสองคนถูกเติมเต็ม ด้วยเหตุนี้เองทำให้นักธุรกิจเครือข่าย 99 % ถูกสอนให้ชวนญาติ พี่น้อง และเพื่อนฝูง ที่รู้จักเป็นเป้าหมายแรกในชักชวนให้เข้าทำธุรกิจ เพราะง่ายที่จะสร้างความสัมพันธ์ด้วย เพราะรู้ว่าการชวนคนที่ไม่รู้จัก ให้มาร่วมทำธุรกิจด้วยนั้นมันยากลำบากมากแค่ไหน
ความเชื่อมั่นระหว่างบุคคลที่ไม่รู้จักกันเลยจะเริ่มสร้างจากที่ไหน?
คุณคิดว่าทำไม? ประชาชนคนไทย หรือ ชาวต่างชาติที่ไม่ใช่คนไทย ถึงรักเคารพเทิดทูนพราะเจ้าอยู่หัว เพราะ เราถูกสอนมาให้เคารพพระมหากษัตริย์ หรือ ท่านเป็นพ่อผู้ทรงธรรม ที่เสียสละทุกอย่างเพื่อทำให้ประชาชนที่เปรียบประดุจลูกของท่าน อยู่ดีกินดีมีความสุข
ทำไม? คนมากมายจีงอยากเป็นลูกศิษย์ ของพระเกจิอาจารย์ หรือพระสงค์ที่ปฎิบัติดี, ปฎิบัติชอบ ด้วยทั้งๆ ที่ไม่รู้จักกัน เพราะว่าท่านสอนให้คนเป็นคนดี ท่านเป็นแนวทางที่ดีให้ปฏิบัติตาม หรือเพราะท่านบังคับให้เป็น
ทำไม? พุทธศาสนิกชน หรือคนที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชน ถึงเคารพ และปฎิบัติตาม คำสอนขององค์พระสัมสัมพุทธเจ้าทั้งๆ ที่ไม่มีโอกาสได้พบกับพระองค์
ทำไม ? เด็กนักเรียนจึงต้องไปเรียนพิเศษกับ อาจารย์ หรือติวเตอร์ที่เก่งๆ
ความลับก็คือ การเป็นผู้ให้ก่อน.... ให้ในสิ่งที่มีประโยชน์แก่ผู้รับ ให้ในสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ที่ต้องการ ยิ่งให้มากก็จะได้รับมากเช่นกัน
แล้วในการทำธุรกิจเครือข่ายเราจะให้อะไรใครได้บาง....เมื่อจุดประสงค์ของเราคือการขาย ต้องสปอนเซอร์คนให้ได้ ถูกสั้งสอนมาว่า ต้องปิดการขายให้ได้ ปิดไม่ได้ไม่ต้องสนใจ ไปหาคนใหม่ ให้เราทำการตลาดด้วย เมื่อสปอนเซอร์คนได้ คนเหล่านั้นก็จะถูกสอนให้ทำซ้ำ้ ๆ ในสิ่งที่กล่าวมาแล้ว... การให้ก่อนจึงเป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้นในการตลาดแบบเก่าๆ
ก้าวที่สองสู่ความสำเร็จในโลกเครือข่าย การจัดการเวลา
Attraction Marketing ตอนที่ 10
ก้าวที่สองสู่ความสำเร็จในโลกเครือข่าย การจัดการเวลา
การจัดการเวลา ด้วยเทคนิคอะไรสำคัญกว่าให้ทำก่อน
หลายครั้งที่ชีวิตเราวุ่นวายกับกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากการกระทำของเรา หรือจากคนอื่นก็ตาม สิ่งที่ทำให้เราเสียสมาธิ ทำให้สิ่งที่เราทำไม่บรรลุเป้าหมาย และเสียเวลาที่ีมีค่่าไปกับกิจกกรรมที่ไม่ควรทำ
หลายครั้งที่เราสับสนว่าควรจะทำอะไรก่อน ระหว่างการโฆษณาเพื่อโปรโมทธุรกิจเครือข่ายของเรากับการช่วยเหลือทีมงานแก้ปัญหา หรือ การรับโทรศัพท์สายซ้อนที่เข้ามาระหว่าการโทรสปอนเซอร์คน และอื่นๆอีกมากมาย
วันนี้ผมมีเคล็ดลับการจัดการปัญหาที่ยุ่งเยิงในชีวิตให้หายไป ภายในเวลา 15 นาที กับเคล็ดลับการจัดการเวลาแบบ "อะไรสำคัญกว่า...ให้ทำก่อน" โดยเราจะแบ่งกิจกรรมที่ต้องทำ ออกเป็น 4 หัวข้อ
1. เรื่องสำคัญ...ที่เร่งด่วน เป็นเรื่องที่ต้องได้รับการจัดการทันที ไม่สามารถผ่อนปรนได้เลย เรื่องวิกฤตต่างๆ หรือปัญหา ที่ต้องได้รับการแก่ไข เช่นการจัดการกับลูกค้าที่กำลังโกรธจัด หรือ การเตรียมงานที่มีกำหนดเวลาและเส้นตาย งานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ หรือ สิ่งที่ต้องทำเพื่อความอยู่รอด
2. เรื่องสำคัญ...ที่ไม่เร่งด่วน เป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่อยู่ภายใต้เงือนไขที่ผ่อนปรนได้ เช่น การวางแผนงานเลี้ยงลูกค้า หรือการวางแผนงานของไตรมาสต่อไป หรือ การนัดประชุมเสนองานกับลูกค้า การออกไปสัมนานอกสถานที่ หรือการไปเข้าคอร์สพัฒนาตัวเอง
3. เรื่องที่ไม่สำคัญ...ที่เร่งด่วน เป็นเรื่องที่เราคิดว่าเร่งด่วน ซึ่งเป็นเงาสะท้อนของกิจกรรมข้อที่ 1 ที่เป็นเรื่องสำคัญของผู้อื่นที่มาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรา เช่นเสียงโทรศัพท์ที่ดังขึ้น พร้อมการปรับทุกข์จากเพื่อนรัก หรือ แฟนโทรนัดกินข้าว หรือ การประชุมที่ไม่ได้นัดหมาย หรือการมาเยี่ยมของแขกที่ไม่ได้นัดล่วงหน้า หรือ การเตรียมตัวไปประชุมผู้ปกครองของลูก
4. เรื่องไม่สำคัญ...ที่ไม่เร่งด่วน เป็นกิจกรรมที่จำกัดไว้ด้วย ความเสียเวลาอันมีค่า แต่เป็นกิจกกรรมที่เราชอบทำที่สุด เช่น การเล่น MSN หรือ Chat เวลาทำงาน หรือการออกไปชอปปิง หรือการโทรไปคุยเล่นกับเพื่อน อ่าสนอีเมลล์ขยะ หรือการท่องโลกอินเตอร์เนท หรือการดูโทรทัศน์
มาถึงตอนนี้ท่านทั้งหลาย คงทราบถึงการจัดการกับกิจกรรมใดที่ควรทำ และไม่ควรทำ เพื่อเวลาที่มีค่าของคุณมา หยุดวิตกกังวลกับงานที่กองสุ่มอยู่ แล้วมาจัดการจัดการปัญหากับเรื่องยุ่งๆ ในการทำงานกันเถอะพวกเรา
ก้าวที่สองสู่ความสำเร็จในโลกเครือข่าย การจัดการเวลา
การจัดการเวลา ด้วยเทคนิคอะไรสำคัญกว่าให้ทำก่อน
หลายครั้งที่ชีวิตเราวุ่นวายกับกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากการกระทำของเรา หรือจากคนอื่นก็ตาม สิ่งที่ทำให้เราเสียสมาธิ ทำให้สิ่งที่เราทำไม่บรรลุเป้าหมาย และเสียเวลาที่ีมีค่่าไปกับกิจกกรรมที่ไม่ควรทำ
หลายครั้งที่เราสับสนว่าควรจะทำอะไรก่อน ระหว่างการโฆษณาเพื่อโปรโมทธุรกิจเครือข่ายของเรากับการช่วยเหลือทีมงานแก้ปัญหา หรือ การรับโทรศัพท์สายซ้อนที่เข้ามาระหว่าการโทรสปอนเซอร์คน และอื่นๆอีกมากมาย
วันนี้ผมมีเคล็ดลับการจัดการปัญหาที่ยุ่งเยิงในชีวิตให้หายไป ภายในเวลา 15 นาที กับเคล็ดลับการจัดการเวลาแบบ "อะไรสำคัญกว่า...ให้ทำก่อน" โดยเราจะแบ่งกิจกรรมที่ต้องทำ ออกเป็น 4 หัวข้อ
1. เรื่องสำคัญ...ที่เร่งด่วน เป็นเรื่องที่ต้องได้รับการจัดการทันที ไม่สามารถผ่อนปรนได้เลย เรื่องวิกฤตต่างๆ หรือปัญหา ที่ต้องได้รับการแก่ไข เช่นการจัดการกับลูกค้าที่กำลังโกรธจัด หรือ การเตรียมงานที่มีกำหนดเวลาและเส้นตาย งานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ หรือ สิ่งที่ต้องทำเพื่อความอยู่รอด
2. เรื่องสำคัญ...ที่ไม่เร่งด่วน เป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่อยู่ภายใต้เงือนไขที่ผ่อนปรนได้ เช่น การวางแผนงานเลี้ยงลูกค้า หรือการวางแผนงานของไตรมาสต่อไป หรือ การนัดประชุมเสนองานกับลูกค้า การออกไปสัมนานอกสถานที่ หรือการไปเข้าคอร์สพัฒนาตัวเอง
3. เรื่องที่ไม่สำคัญ...ที่เร่งด่วน เป็นเรื่องที่เราคิดว่าเร่งด่วน ซึ่งเป็นเงาสะท้อนของกิจกรรมข้อที่ 1 ที่เป็นเรื่องสำคัญของผู้อื่นที่มาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรา เช่นเสียงโทรศัพท์ที่ดังขึ้น พร้อมการปรับทุกข์จากเพื่อนรัก หรือ แฟนโทรนัดกินข้าว หรือ การประชุมที่ไม่ได้นัดหมาย หรือการมาเยี่ยมของแขกที่ไม่ได้นัดล่วงหน้า หรือ การเตรียมตัวไปประชุมผู้ปกครองของลูก
4. เรื่องไม่สำคัญ...ที่ไม่เร่งด่วน เป็นกิจกรรมที่จำกัดไว้ด้วย ความเสียเวลาอันมีค่า แต่เป็นกิจกกรรมที่เราชอบทำที่สุด เช่น การเล่น MSN หรือ Chat เวลาทำงาน หรือการออกไปชอปปิง หรือการโทรไปคุยเล่นกับเพื่อน อ่าสนอีเมลล์ขยะ หรือการท่องโลกอินเตอร์เนท หรือการดูโทรทัศน์
มาถึงตอนนี้ท่านทั้งหลาย คงทราบถึงการจัดการกับกิจกรรมใดที่ควรทำ และไม่ควรทำ เพื่อเวลาที่มีค่าของคุณมา หยุดวิตกกังวลกับงานที่กองสุ่มอยู่ แล้วมาจัดการจัดการปัญหากับเรื่องยุ่งๆ ในการทำงานกันเถอะพวกเรา
มนุษยสัมพันธ์ ก้าวแรกสู่ความสำเร็จในโลกเครือข่าย
Attraction Marketing ตอนที่ 9
มนุษยสัมพันธ์ ก้าวแรกสู่ความสำเร็จในโลกเครือข่าย
คุณคิดว่าคุณสมบัติใดที่ทำให้นักธุรกิจเครือขา่ยระดับแนวหน้า อย่างคุณ นิติ สว่างทรัพย์ แห่งเอเจลหรือ หรือผู้นำที่มีรายได้หลัก แสน- ล้านบาทในการทำธุรกิจเครือข่ายในบริษัทต่างๆ แตกต่างจากนักธุรกิจมือใหม่ ????
จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อมีแผนการตลาดที่ดีที่สุด หรือแผนรายได้จ่ายมากที่สุด เครื่องมือที่ดีที่สุด หรือบริษัทที่มีสาขาทั่วโลก แต่ ไม่รู้ว่าจะคุยกับคนแปลกหน้่าอย่างไร หรือกลัวที่จะคุยกับผู้มุ่งหวัง หรือแม้กระทั่งญาติพี่น้อง เกี่ยวกับการทำธุรกิจ....
สิ่งที่ 99% หรือมนุษย์ ทั่วไปกลัว ก็คือการต้องคุย หรือ ติดต่อกับคนแปลกหน้า, การเริ่มสร้างความสัมพันธ์ กับคนแปลกหน้า ยิ่งเป็นนักธุรกิจเครือข่ายด้วยแล้ว การโทรไปชวนคนเข้าทำธุรกิจ หรือ การออกไปเจอกับผู้มุ่งหวังเป็นครั้งแรก นั้น เปรียบเหมือนฝันร้ายดีๆ นั้นเอง
สิ่งที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างนักธุรกิจมืออาชีพ หรือมือใหม่ในเวลาเผชิญหร้าผู้มุ่งหวังก็คือ
มนุษยสัมพันธ์ที่่ดี และการรู้จักเริ่มต้นการสนทนา
เพราะคนที่มนุษยสัมพันธ์ดี เป็นเหมือนสว่านที่เจาะกำแพงที่กั้นระหว่างเรา กับผู้ที่เราจะสร้างความสัมพันธ์ด้วย เป็นก้าวแรกในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่นำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งสิ่งที่มือใหม่มักจะทำก็คือตรงดิ่งเข้าไปในเรื่องธุรกิจ เพื่อปิดการขายให้เร็ว หรือพูดแนะนำธุรกิจด้วยการชักแม่น้ำทั้งห้า เพื่อหว่านล้อมผู้มุ่งหวัง
มนุษยสัมพันธ์ และการเริ่มต้นการสนทนาที่ดี นั้นไม่ใช่คุณสมบัติส่วนบุคคล แต่เป็นสิ่งที่ฝึกหัดกันได้ และคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีก็ไม่จำเป็นว่าต้องมีหน้าตาดี รูปร่างดี หรือ แต่งกายดี เพราะสิ่งที่สำคัญระหว่างคู่สนทนา นั้นก็คือก็ความจริงใจที่สื่อออกไป และประโยชน์ที่จะได้รับจากการสนทนามากกว่า ความประทับใจจากรูปลักษณ์ หรือ คำเยินยอที่เกินจริง
คุณสมบัติของนักสนทนาที่ดี
1. การใช่คำพูดที่ดี ถูกกาละเทศะ และรู้จังหวะในการพูด
2. รู้จักขอบเขตของความสัมพันธ์ที่จะสร้าง
3. รับรู้รับฟังผู้ที่สนทนาด้วยอย่างตั้งใจ
4. มองโลกหลายมุม และพร้อมที่จะยอมรับควสามคิดผู้อื่น
5. รู้จักสำรวจข้อบกพร่อง พร้อมที่จะปรับปรุงตนเอง
6. ต้องจริงใจกับคู่สนทนาด้วย
เพราะธุรกิจเครือข่ายคือธุรกิจจากการสร้างความสัมพันธ์ คุณสมบัติข้อแรกที่นักธุรกิจเครือข่ายต้องเรียนรู้คือ การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และรู้จักที่จะสนทนาให้ถูกที่ถูกเวลา
มนุษยสัมพันธ์ ก้าวแรกสู่ความสำเร็จในโลกเครือข่าย
คุณคิดว่าคุณสมบัติใดที่ทำให้นักธุรกิจเครือขา่ยระดับแนวหน้า อย่างคุณ นิติ สว่างทรัพย์ แห่งเอเจลหรือ หรือผู้นำที่มีรายได้หลัก แสน- ล้านบาทในการทำธุรกิจเครือข่ายในบริษัทต่างๆ แตกต่างจากนักธุรกิจมือใหม่ ????
จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อมีแผนการตลาดที่ดีที่สุด หรือแผนรายได้จ่ายมากที่สุด เครื่องมือที่ดีที่สุด หรือบริษัทที่มีสาขาทั่วโลก แต่ ไม่รู้ว่าจะคุยกับคนแปลกหน้่าอย่างไร หรือกลัวที่จะคุยกับผู้มุ่งหวัง หรือแม้กระทั่งญาติพี่น้อง เกี่ยวกับการทำธุรกิจ....
สิ่งที่ 99% หรือมนุษย์ ทั่วไปกลัว ก็คือการต้องคุย หรือ ติดต่อกับคนแปลกหน้า, การเริ่มสร้างความสัมพันธ์ กับคนแปลกหน้า ยิ่งเป็นนักธุรกิจเครือข่ายด้วยแล้ว การโทรไปชวนคนเข้าทำธุรกิจ หรือ การออกไปเจอกับผู้มุ่งหวังเป็นครั้งแรก นั้น เปรียบเหมือนฝันร้ายดีๆ นั้นเอง
สิ่งที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างนักธุรกิจมืออาชีพ หรือมือใหม่ในเวลาเผชิญหร้าผู้มุ่งหวังก็คือ
มนุษยสัมพันธ์ที่่ดี และการรู้จักเริ่มต้นการสนทนา
เพราะคนที่มนุษยสัมพันธ์ดี เป็นเหมือนสว่านที่เจาะกำแพงที่กั้นระหว่างเรา กับผู้ที่เราจะสร้างความสัมพันธ์ด้วย เป็นก้าวแรกในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่นำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งสิ่งที่มือใหม่มักจะทำก็คือตรงดิ่งเข้าไปในเรื่องธุรกิจ เพื่อปิดการขายให้เร็ว หรือพูดแนะนำธุรกิจด้วยการชักแม่น้ำทั้งห้า เพื่อหว่านล้อมผู้มุ่งหวัง
มนุษยสัมพันธ์ และการเริ่มต้นการสนทนาที่ดี นั้นไม่ใช่คุณสมบัติส่วนบุคคล แต่เป็นสิ่งที่ฝึกหัดกันได้ และคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีก็ไม่จำเป็นว่าต้องมีหน้าตาดี รูปร่างดี หรือ แต่งกายดี เพราะสิ่งที่สำคัญระหว่างคู่สนทนา นั้นก็คือก็ความจริงใจที่สื่อออกไป และประโยชน์ที่จะได้รับจากการสนทนามากกว่า ความประทับใจจากรูปลักษณ์ หรือ คำเยินยอที่เกินจริง
คุณสมบัติของนักสนทนาที่ดี
1. การใช่คำพูดที่ดี ถูกกาละเทศะ และรู้จังหวะในการพูด
2. รู้จักขอบเขตของความสัมพันธ์ที่จะสร้าง
3. รับรู้รับฟังผู้ที่สนทนาด้วยอย่างตั้งใจ
4. มองโลกหลายมุม และพร้อมที่จะยอมรับควสามคิดผู้อื่น
5. รู้จักสำรวจข้อบกพร่อง พร้อมที่จะปรับปรุงตนเอง
6. ต้องจริงใจกับคู่สนทนาด้วย
เพราะธุรกิจเครือข่ายคือธุรกิจจากการสร้างความสัมพันธ์ คุณสมบัติข้อแรกที่นักธุรกิจเครือข่ายต้องเรียนรู้คือ การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และรู้จักที่จะสนทนาให้ถูกที่ถูกเวลา
.ผู้มุ่งหวังต้องการอะไร...
Attraction Marketing ตอนที่ 8
...ผู้มุ่งหวังต้องการอะไร...
ประเด็นสำคัญวันนี้...สิ่งที่ผมอยากให้ท่านนักธุรกิจเครือข่ายทั้งหลายต้องรู้ ต้องเข้าใจคือมนุษย์ต้องการอะไร.... ผู้มุ่งหวังมองหาอะไร?
จากประสบการณ์การทำงานในโลกธุรกิจเครือข่ายของผม ที่ล้มเหลวไม่เป็นท่า ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจเครือข่ายให้ประสบความสำเร็จ คือ การสร้างความสัมพันธ์ และการเข้าใจความต้องการของมนุษย์ เพราะถ้าไม่เรียนรู้เรื่องเหล่านี้ ก็สมัครคนไม่ได้ สมัครคนไม่ได้ก็ไม่มีรายได้ แล้วก็ล้มตายไปจากสุดยอกดธุรกิจทั้งหลาย อย่างที่คน 99% ในโลกธุรกิจเข้าเป็นกัน
ผู้ชี่ยวชาญทางด้านนักมานุษยวิทยา ได้แบ่ง ระดับความต้องการของมนุษย์ ตามทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์
( Maslow’s Hierarchy of Needs) ออกมาเป็น 5 ระดับ
1. ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiology Needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ หรือสิ่งมี ชีวิต ที่ต้องมีการเติมเต็มไม่ให้ขาด เพราะเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตให้อยู่ได้ เกิดขึ้นเช่น อ๊อกซิเจน, อาหาร, น้ำดื่ม , การพักผ่อนนอนหลับ หรือ ความต้องการทางเพศ ถ้าขาดสิ่งเหล่นนี้ไปหรือมีอยู่อย่าง ไม่พอเพียงแล้ว ความต้องการด้านอื่นในระดับที่สูงกว่าก็จะไม่เกิดขึ้น
ซึ่งความต้องการหลักของนักธุรกิจเครือข่ายต้องการ ก็คือรายได้ ถ้าธุรกิจไหนสร้างรายได้มหาศาลให้
กับคนที่ทำแล้ว หรือวิธีการไหนที่ทำให้เขาสร้างรายได้ืั้ต้องการแล้ว ก็จะแย่งกันเข้าไปทำ ซึ่งทำให้ทุก บริษัทเครือข่ายโปรโมทแผนการสร้างรายได้ หรือ ค่าคอมมิชชั่น หรือโบนัสต่างๆ เพื่อดึงดูดให้คนเข้า มาสนใจ เข้ามาทำธุรกิจด้วยความตื้นเต้น และความอยากได้เงินมหาศาลอย่างที่คนอื่นทำได้
แต่จากสถิติคน 99 % จะเลิกทำธุรกิจเครือข่าย ภายในเวลา 1-3 เดือน เพราะไม่มีรายได้จาก การทำ ธุรกิจ หรือ สร้างรายได้ไม่พอกับรายจ่ายในการทำธุรกิจ เพราะไม่รู้วิธีการสมัครคน หรือมีระบบการ ทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพพอ
2. ความต้องการความปลอดภัย ( Safety Needs ) เมื่อความต้องการทางร่างกายได้ถูกเติมเต็ม แล้วความ ต้องการขั้นต่อไปคือความต้องการความปลอดภัย ความมั่นคง ซึ่งมนุษย์นั้นจะเป็นผู้มองหาความมั่นคง ในทุกเรื่องในการดำเนินชีวิต หรือกับเหตุการที่เผิชญอยู่ของเขาเหล่านั้น เช่น ความมั่นคงในการทำงาน สุขภาพ หรือรายได้
ความมั่นคงในการทำธุรกิจเครือข่าย ที่มองเป็นรูปธรรมได้ก็คือ ตัวบริษัทที่เราจะเข้าร่วม เช่น ชื่อเสียง ของบริษัท, ความมั่นคงของบริษัท, บริษัทเปิดมานานหรือยัง, มีบริษัทหรือศูนย์ธุรกิจอยู่ในเมืองไทย หรือไม่, ประสบการณ์ในโลกธุรกิจเครือข่ายของผู้นำธุรกิจ ซึ่งนักธุรกิจเครือข่ายทั้งหลายต้องให้ราย ละเอียดเหล่านี้ให้ผู้มุ่งหวังได้อย่างถูกต้องเมื่อถูกสอบถาม
ซึ่งคำถามยอดนิยมในธุรกิจเครือข่ายของผู้มุ่งหวังถาม เพราะเกิดจากความไม่มั่นใจในการ ทำธุรกิจ เครือข่าย เช่น ทำเงินได้จริงอย่างที่บอกหรือเปล่า?, คุณทำเงินได้เท่าไหร่แล้วจากธุรกิจนี้? หรือถ้า คุณสร้างรายได้ 6 -7 หลักอย่างที่บอกได้แล้ว ค่อยมาคุยกันใหม่? ต้องสมัครคนหรือ ต้องขายของหรือ0 เปล่า? ซึ่งเมื่อ ผู้มุ่งหวังไม่ได้รับคำตอบอย่างที่คิดไว้ หรือไม่ได้รับการตอบสนองที่พึงพอใจอย่างที่ บอกไว้ โอกาสที่จะถูกปฎิเสธก็จะมีสูลขึ้นไปด้วย
3. ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ ( Belongingness and love Needs) ความต้องการลำดับต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกัน เป็นสังคม และมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าสงบุคคล ก็คือความรัก และการเป็นเจ้าของ การได้รับการยอมรับจากสังคม หรือได้รับการดูแลเอาใจใส่ ซึ่งมนุษย์จะรู้สึกเจ็บ ปวดเมื่อถูกทอดทิ้ง หรือไม่ได้รับการยอมรับของสังคม ไม่มีเพื่อน และไม่ได้รับการนับถือ หรือยกย่อง ซึ่งกันและกันในครอบครัว คนรัก หรือระหว่างเพื่อนแล้ว ถ้ามนุษย์ไม่ได้รับการเติมเต็มในเรื่องนี้ แล้วสิ่ง ที่ก่อให้เกิดดความรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ชีวิตล้มเหลว ไม่อยากทำอะไรต่อไป สิ้นหวังหมดกำลังใจ จนอาจรุนแรงถึงการฆ่าตัวตายได้
ในการทำธุรกิจเครือข่ายแล้วความต้องการลำดับที่3 นี้ จะเป็นทางด้านการสร้างความเชื่อ มั่น หรือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การดูแลและใส่ใจระหว่างอัพไลน์ กับดาวไลน์ก็ดี หรือ ระหว่างผู้ มุ่งหวัง กับอัพไลน์ก็ดี ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างนักธุรกิจเครือข่าย กับผู้เข้าร่วมธุรกิจที่มาใหม่ คือ เมื่อเข้าร่วมธุรกิจแล้วอัพไลน์ก็หายไป หรือไม่ได้การแนะนำวิธีการทำงานที่ถูกต้อง
4. ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือยกย่อง ( Self-Esteem Needs) ซึ่งเป็นแรงผลักดันจากความต้องการ ในลำดับความต้องการขั้นที่ 3 หลังจากที่ได้รับความรักจากผู้อื่นแล้ว ซึ่งการนับถือยกย่องจากสังคมก็จะ เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติซึ่ง การนับถือยกย่องจะแยกย่อยไปได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ
การนับถือตัวเอง ( Self- respect ) ความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง เป็นกุญแจสำคัญแห่งความประสบความสำเร็จในทุกด้าน เป็นแรงกระตุ้น ซึ่งก่อให้ความรู้สึกว่ามีคุณค่าแก่ผู้อื่นหรือมีประโยชน์กับผู้อื่น ซึ่งการนับถือตัวเองจะนำไปสู้ความสำเร็จในการทำงานและก่อให้เกิดความเป็นผู้นำในตัวบุคคลนั้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่าง บิล เกตต์ เจ้าของ ไมโครซอฟ ,โดนัล ทรัมพ์ เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ระดับโลก หรือ สตีฟจ๊อบเจ้าของบริษัทแอปเปิล หรือผู้นำในธุรกิจ เครือข่าย ผู้ที่เป็นพ่อทีม แม่ทีม ในธุรกิจต่างๆ ที่สร้างรายได้มหาศาล ซึ่งในมุมของโลกธุรกิจเครือข่าย แล้ว 95 % ของคนที่จะเข้าร่วมธุรกิจนั้นหรือ จะกลัวการ สมัครคน หรือ ขายสินค้า หรือการต้องโทร ติดต่อคนก็ดี เพราะไม่มีความมั่นใจว่าตัวเองจะทำได้ และสำหรับนักธุรกิจมือใหม่จะสูญเสียความ มั่นใจ หลังจากที่ถูกปฎิเสธ จากผู้มุ่งหวังสัก 5- 10 ครั้ง และจะสูญเสียความต้องการทำธุรกิจหลังจากที่ ถูกปฎิเสธอย่างต่อเนื่อง
ความต้องการยกย่องนับถือจากผู้อื่น ( Esteem from other Needs ) คือ ความต้องการกียรติยส ชื่อ เสียง ได้รับการชมเชย การยอมรับจากสังคม การยกย่องจากผู้คนรอบข้างอย่างจริงใจ หลังจากการ ทำงานอย่างพากเพียรนั้น เป็นดั่งยาวิเศษ ที่ทำให้ความสัมพันธ์แน่นเฟ้นขึ้น หรือสร้างความเชื่อมั่น และ ศรัทธาในตัวบุคคลให้สูงขึ้น
5. ความต้องการที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง ( Self-Actualization Needs ) เป็นความ ต้องการขั้นสูงสุดที่เกิดขึ้น เมื่อความขั้นตอนพื้นฐานที่กล่าวมาแล้วถูกเติมเต็ม มนุษย์ปราถนาที่จะ เข้าใจตัวเองมากกว่าสิ่งใดสนใจในเรื่องของตนเอง มากกว่าสิ่งใดในโลก มนุษย์อาจใช่เวลาทั้งชีวิต สูญเสียเงินทองมากมาย เพียงเพื่อค้นหาว่าตัวเองต้องการอะไร และการได้ลิม้รสชาติแห่งวความสุขที่ ได้รับซึ่งความเข้าใจในตนเองอย่างแท้จริง คือการเติมเต็มความปราถนาในทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์คน หนึ่งต้องการ และ การบรรลุถึงจุดสูงสสุดแห่งศักยภาพของตนเอง อย่างเช่นศิลปินที่สร้างผลงานไป เรื่อยๆ เพียงเพื่อได้รับผลงานที่ดีที่สุด หรือ นักกีฬาที่แย่งกันเอเป็นที่ 1 หรือ นักธุรกิจที่ประสบความ สำเร็จ ที่ทำงานอย่างไม่มีวันหยุด เพื่อต้องการเป็นคนที่รวยที่สุด ทั้งที่มีทรัพย์สินมากที่สุด ความ เข้าใจตัวเอง เป็นบริบทหนึ่งของการสร้างความสบูรณ์ที่สุดของชีวิตคนๆ หนึ่งเท่านั้นเอง
ซึ่งการเติมเต็มความต้องการนี้ ในการทำธุรกิจเครือข่ายก็จะเป็นการช่วยเหลือ แนะนำวิธีการทำธุรกิจที่ ถูกต้อง หรือช่วยดาวไลน์ หรือผู้ที่อยู่ในสายงานสปอนเซอร์คนได้
สิ่งที่ทำให้นักธุรกิจเครือข่ายล้มเหลวในการสปอนเซอร์คน คือตอบไม่ตรงคำถามที่ผู้มุ่งหวังอยากจะรู้ หรือ ไม่ตอบสนองความต้องการของผู้มุ่งหวัง เพราะ ต้องการเพียงจะขายโอกาสทางธุรกิจของตัวเอง เพื่อตอบสนองแต่ความต้องการของตัวเองเท่านั้น
เพื่อความสำเร็จในการสปอนเซอร์ผู้มุ่งหวัง เป็นนักธุรกิจเครือข่าย, นักธุรกิจออนไลน์ - ออฟไลน์, นัก ธุรกิจขายตรง ที่ผู้มุ่งหวังแย่งกันเข้าร่วมธุรกิจด้วย "จงเรียนรู้วิธีการเข้าถึงความต้องการของบุคคลที่ ท่านติดต่อด้วย เติมเต็มสิ่งที่เข้าต้องการ "
...ผู้มุ่งหวังต้องการอะไร...
ประเด็นสำคัญวันนี้...สิ่งที่ผมอยากให้ท่านนักธุรกิจเครือข่ายทั้งหลายต้องรู้ ต้องเข้าใจคือมนุษย์ต้องการอะไร.... ผู้มุ่งหวังมองหาอะไร?
จากประสบการณ์การทำงานในโลกธุรกิจเครือข่ายของผม ที่ล้มเหลวไม่เป็นท่า ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจเครือข่ายให้ประสบความสำเร็จ คือ การสร้างความสัมพันธ์ และการเข้าใจความต้องการของมนุษย์ เพราะถ้าไม่เรียนรู้เรื่องเหล่านี้ ก็สมัครคนไม่ได้ สมัครคนไม่ได้ก็ไม่มีรายได้ แล้วก็ล้มตายไปจากสุดยอกดธุรกิจทั้งหลาย อย่างที่คน 99% ในโลกธุรกิจเข้าเป็นกัน
ผู้ชี่ยวชาญทางด้านนักมานุษยวิทยา ได้แบ่ง ระดับความต้องการของมนุษย์ ตามทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์
( Maslow’s Hierarchy of Needs) ออกมาเป็น 5 ระดับ
1. ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiology Needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ หรือสิ่งมี ชีวิต ที่ต้องมีการเติมเต็มไม่ให้ขาด เพราะเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตให้อยู่ได้ เกิดขึ้นเช่น อ๊อกซิเจน, อาหาร, น้ำดื่ม , การพักผ่อนนอนหลับ หรือ ความต้องการทางเพศ ถ้าขาดสิ่งเหล่นนี้ไปหรือมีอยู่อย่าง ไม่พอเพียงแล้ว ความต้องการด้านอื่นในระดับที่สูงกว่าก็จะไม่เกิดขึ้น
ซึ่งความต้องการหลักของนักธุรกิจเครือข่ายต้องการ ก็คือรายได้ ถ้าธุรกิจไหนสร้างรายได้มหาศาลให้
กับคนที่ทำแล้ว หรือวิธีการไหนที่ทำให้เขาสร้างรายได้ืั้ต้องการแล้ว ก็จะแย่งกันเข้าไปทำ ซึ่งทำให้ทุก บริษัทเครือข่ายโปรโมทแผนการสร้างรายได้ หรือ ค่าคอมมิชชั่น หรือโบนัสต่างๆ เพื่อดึงดูดให้คนเข้า มาสนใจ เข้ามาทำธุรกิจด้วยความตื้นเต้น และความอยากได้เงินมหาศาลอย่างที่คนอื่นทำได้
แต่จากสถิติคน 99 % จะเลิกทำธุรกิจเครือข่าย ภายในเวลา 1-3 เดือน เพราะไม่มีรายได้จาก การทำ ธุรกิจ หรือ สร้างรายได้ไม่พอกับรายจ่ายในการทำธุรกิจ เพราะไม่รู้วิธีการสมัครคน หรือมีระบบการ ทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพพอ
2. ความต้องการความปลอดภัย ( Safety Needs ) เมื่อความต้องการทางร่างกายได้ถูกเติมเต็ม แล้วความ ต้องการขั้นต่อไปคือความต้องการความปลอดภัย ความมั่นคง ซึ่งมนุษย์นั้นจะเป็นผู้มองหาความมั่นคง ในทุกเรื่องในการดำเนินชีวิต หรือกับเหตุการที่เผิชญอยู่ของเขาเหล่านั้น เช่น ความมั่นคงในการทำงาน สุขภาพ หรือรายได้
ความมั่นคงในการทำธุรกิจเครือข่าย ที่มองเป็นรูปธรรมได้ก็คือ ตัวบริษัทที่เราจะเข้าร่วม เช่น ชื่อเสียง ของบริษัท, ความมั่นคงของบริษัท, บริษัทเปิดมานานหรือยัง, มีบริษัทหรือศูนย์ธุรกิจอยู่ในเมืองไทย หรือไม่, ประสบการณ์ในโลกธุรกิจเครือข่ายของผู้นำธุรกิจ ซึ่งนักธุรกิจเครือข่ายทั้งหลายต้องให้ราย ละเอียดเหล่านี้ให้ผู้มุ่งหวังได้อย่างถูกต้องเมื่อถูกสอบถาม
ซึ่งคำถามยอดนิยมในธุรกิจเครือข่ายของผู้มุ่งหวังถาม เพราะเกิดจากความไม่มั่นใจในการ ทำธุรกิจ เครือข่าย เช่น ทำเงินได้จริงอย่างที่บอกหรือเปล่า?, คุณทำเงินได้เท่าไหร่แล้วจากธุรกิจนี้? หรือถ้า คุณสร้างรายได้ 6 -7 หลักอย่างที่บอกได้แล้ว ค่อยมาคุยกันใหม่? ต้องสมัครคนหรือ ต้องขายของหรือ0 เปล่า? ซึ่งเมื่อ ผู้มุ่งหวังไม่ได้รับคำตอบอย่างที่คิดไว้ หรือไม่ได้รับการตอบสนองที่พึงพอใจอย่างที่ บอกไว้ โอกาสที่จะถูกปฎิเสธก็จะมีสูลขึ้นไปด้วย
3. ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ ( Belongingness and love Needs) ความต้องการลำดับต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกัน เป็นสังคม และมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าสงบุคคล ก็คือความรัก และการเป็นเจ้าของ การได้รับการยอมรับจากสังคม หรือได้รับการดูแลเอาใจใส่ ซึ่งมนุษย์จะรู้สึกเจ็บ ปวดเมื่อถูกทอดทิ้ง หรือไม่ได้รับการยอมรับของสังคม ไม่มีเพื่อน และไม่ได้รับการนับถือ หรือยกย่อง ซึ่งกันและกันในครอบครัว คนรัก หรือระหว่างเพื่อนแล้ว ถ้ามนุษย์ไม่ได้รับการเติมเต็มในเรื่องนี้ แล้วสิ่ง ที่ก่อให้เกิดดความรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ชีวิตล้มเหลว ไม่อยากทำอะไรต่อไป สิ้นหวังหมดกำลังใจ จนอาจรุนแรงถึงการฆ่าตัวตายได้
ในการทำธุรกิจเครือข่ายแล้วความต้องการลำดับที่3 นี้ จะเป็นทางด้านการสร้างความเชื่อ มั่น หรือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การดูแลและใส่ใจระหว่างอัพไลน์ กับดาวไลน์ก็ดี หรือ ระหว่างผู้ มุ่งหวัง กับอัพไลน์ก็ดี ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างนักธุรกิจเครือข่าย กับผู้เข้าร่วมธุรกิจที่มาใหม่ คือ เมื่อเข้าร่วมธุรกิจแล้วอัพไลน์ก็หายไป หรือไม่ได้การแนะนำวิธีการทำงานที่ถูกต้อง
4. ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือยกย่อง ( Self-Esteem Needs) ซึ่งเป็นแรงผลักดันจากความต้องการ ในลำดับความต้องการขั้นที่ 3 หลังจากที่ได้รับความรักจากผู้อื่นแล้ว ซึ่งการนับถือยกย่องจากสังคมก็จะ เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติซึ่ง การนับถือยกย่องจะแยกย่อยไปได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ
การนับถือตัวเอง ( Self- respect ) ความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง เป็นกุญแจสำคัญแห่งความประสบความสำเร็จในทุกด้าน เป็นแรงกระตุ้น ซึ่งก่อให้ความรู้สึกว่ามีคุณค่าแก่ผู้อื่นหรือมีประโยชน์กับผู้อื่น ซึ่งการนับถือตัวเองจะนำไปสู้ความสำเร็จในการทำงานและก่อให้เกิดความเป็นผู้นำในตัวบุคคลนั้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่าง บิล เกตต์ เจ้าของ ไมโครซอฟ ,โดนัล ทรัมพ์ เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ระดับโลก หรือ สตีฟจ๊อบเจ้าของบริษัทแอปเปิล หรือผู้นำในธุรกิจ เครือข่าย ผู้ที่เป็นพ่อทีม แม่ทีม ในธุรกิจต่างๆ ที่สร้างรายได้มหาศาล ซึ่งในมุมของโลกธุรกิจเครือข่าย แล้ว 95 % ของคนที่จะเข้าร่วมธุรกิจนั้นหรือ จะกลัวการ สมัครคน หรือ ขายสินค้า หรือการต้องโทร ติดต่อคนก็ดี เพราะไม่มีความมั่นใจว่าตัวเองจะทำได้ และสำหรับนักธุรกิจมือใหม่จะสูญเสียความ มั่นใจ หลังจากที่ถูกปฎิเสธ จากผู้มุ่งหวังสัก 5- 10 ครั้ง และจะสูญเสียความต้องการทำธุรกิจหลังจากที่ ถูกปฎิเสธอย่างต่อเนื่อง
ความต้องการยกย่องนับถือจากผู้อื่น ( Esteem from other Needs ) คือ ความต้องการกียรติยส ชื่อ เสียง ได้รับการชมเชย การยอมรับจากสังคม การยกย่องจากผู้คนรอบข้างอย่างจริงใจ หลังจากการ ทำงานอย่างพากเพียรนั้น เป็นดั่งยาวิเศษ ที่ทำให้ความสัมพันธ์แน่นเฟ้นขึ้น หรือสร้างความเชื่อมั่น และ ศรัทธาในตัวบุคคลให้สูงขึ้น
5. ความต้องการที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง ( Self-Actualization Needs ) เป็นความ ต้องการขั้นสูงสุดที่เกิดขึ้น เมื่อความขั้นตอนพื้นฐานที่กล่าวมาแล้วถูกเติมเต็ม มนุษย์ปราถนาที่จะ เข้าใจตัวเองมากกว่าสิ่งใดสนใจในเรื่องของตนเอง มากกว่าสิ่งใดในโลก มนุษย์อาจใช่เวลาทั้งชีวิต สูญเสียเงินทองมากมาย เพียงเพื่อค้นหาว่าตัวเองต้องการอะไร และการได้ลิม้รสชาติแห่งวความสุขที่ ได้รับซึ่งความเข้าใจในตนเองอย่างแท้จริง คือการเติมเต็มความปราถนาในทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์คน หนึ่งต้องการ และ การบรรลุถึงจุดสูงสสุดแห่งศักยภาพของตนเอง อย่างเช่นศิลปินที่สร้างผลงานไป เรื่อยๆ เพียงเพื่อได้รับผลงานที่ดีที่สุด หรือ นักกีฬาที่แย่งกันเอเป็นที่ 1 หรือ นักธุรกิจที่ประสบความ สำเร็จ ที่ทำงานอย่างไม่มีวันหยุด เพื่อต้องการเป็นคนที่รวยที่สุด ทั้งที่มีทรัพย์สินมากที่สุด ความ เข้าใจตัวเอง เป็นบริบทหนึ่งของการสร้างความสบูรณ์ที่สุดของชีวิตคนๆ หนึ่งเท่านั้นเอง
ซึ่งการเติมเต็มความต้องการนี้ ในการทำธุรกิจเครือข่ายก็จะเป็นการช่วยเหลือ แนะนำวิธีการทำธุรกิจที่ ถูกต้อง หรือช่วยดาวไลน์ หรือผู้ที่อยู่ในสายงานสปอนเซอร์คนได้
สิ่งที่ทำให้นักธุรกิจเครือข่ายล้มเหลวในการสปอนเซอร์คน คือตอบไม่ตรงคำถามที่ผู้มุ่งหวังอยากจะรู้ หรือ ไม่ตอบสนองความต้องการของผู้มุ่งหวัง เพราะ ต้องการเพียงจะขายโอกาสทางธุรกิจของตัวเอง เพื่อตอบสนองแต่ความต้องการของตัวเองเท่านั้น
เพื่อความสำเร็จในการสปอนเซอร์ผู้มุ่งหวัง เป็นนักธุรกิจเครือข่าย, นักธุรกิจออนไลน์ - ออฟไลน์, นัก ธุรกิจขายตรง ที่ผู้มุ่งหวังแย่งกันเข้าร่วมธุรกิจด้วย "จงเรียนรู้วิธีการเข้าถึงความต้องการของบุคคลที่ ท่านติดต่อด้วย เติมเต็มสิ่งที่เข้าต้องการ "
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)